การทดลองแสนสนุก วิทยาศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากและซับซ้อนสำหรับเด็กอีกต่อไป
การทดลองแสนสนุก สุดหรรษา ที่ จะทำให้ เด็ก ๆ ไปพบกับ ความสนุกสนาน แฝงไว้ ด้วยสาระความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถทำได้ทุกคน เรียกได้ว่าทั้งสนุก และได้ความรู้ไปในตัว ทำให้ เด็กรัก วิทยาศาสตร์ ไปในตัว
การทดลองแสนสนุก จะช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้ และ เพื่อสร้างความคิดรวบยอดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ ลักษณะของการทดลอง จะเป็นกระบวนการ และมีขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน
NB CLassroom เป็นผู้ตระเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการการทดลองแสนสนุกไว้อย่างพร้อมเพรียง คอร์สการเรียนวิทยาศาสตร์ ของ เรา มีทั้งหมด 36 ธีม ทุกเดือนธีมการเรียนจะเปลี่ยไป
ก่อนที่เด็กจะลงมือทดลอง ผู้สอน สร้างบรรยากาศ อยากรู้ อยากเห็น และ สอนให้ เข้าถึง วิธีการ ค้นหา คำตอบ ด้วยการทำการ ทดลอง ด้วยตัวเอง
มีอธิบายขั้นตอนการทดลองก่อน แล้วให้เด็กลงมือทดลองด้วยตนเอง
ขณะเด็กทดลอง ครูเข้าไปมีส่วนร่วม และ ช่วยเหลือเด็กตามความเหมาะสม
เมื่อเสร็จสิ้นการทดลอง มีการสรุปผลการทดลอง บันทึกผลการทดลอง
ทั้งนี้เพื่อให้เด็กสรุปสิ่งที่ค้น พบด้วยตนเองทุกครั้ง จดบันทึก สิ่งที่ได้จาก การทดลอง และถือว่าการเรียนรู้โดยการใช้กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง และสะท้อนการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ โดยพื้นฐานแล้ว วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของการสังเกตโลกรอบตัว
การสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับสิ่งที่เห็น ศึกษาตั้งแต่สิ่งเล็ก ๆ อย่างเช่น แมลงในสนามหญ้า ไปจนถึงสิ่งใหญ่ๆ อย่างดวงดาว ในขณะที่เด็กๆ กำลังมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ หรือ กล้องส่องทางไกล นั่นเท่ากับว่าเด็กๆ กำลังเก็บรายละเอียด หรือ เก็บข้อมูล ยิ่งดูมาก สังเกตมาก ก็ ยิ่งได้ข้อมูลมาก
เรียนวิทยาศาสตร์ ประถม ไม่เครียด เน้น การทดลอง
การทดลองแสนสนุก ช่วยให้เด็กมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ เด็กๆ อาจคิดอย่างเป็นเหตุผล และเป็นระบบอยู่แล้ว ในชีวิตประจำวัน ถ้าเด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างถูกวิธี คือได้คิดวิเคราะห์ และลงมือปฏิบัติมากกว่าท่องจำ เขาจะมีความสุข และสามารถต่อยอดไปในชั้นสูงๆ ได้
เดือน มหัศจรรย์การมองเห็น การมองเห็น ไม่ได้ใช่แค่ ดวงตาเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องใช้สมอง ในการแปล สิ่งที่มองเห็น เพื่อสั่งการให้ ร่างกาย มีปฏิกิริยา ตอบสนองอย่างไร เช่น เมื่อ ดวงตามองเห็น ไฟ สมองจะแปลความหมาย ตามประสบการณ์ที่เรารู้ ว่าไฟร้อน อย่าไปสัมผัส แต่ถ้า สมองเราไม่เคย สะสมประสบการณ์เหล่านี้ มาเลย ถึงแม้ว่า ดวงตา จะมองเห็น ไฟ แต่สมองไม่รู้ว่าไฟ คือ อะไร มีอันตราย หรือไม่ สมองอาจจะ สั่งการ ให้ มือ เข้าไปจับ หรือ สัมผัส และ เก็บเป็นข้อมูล ในการ ประมวลผลครั้งต่อไป
ดวงตา คือ อวัยวะสำคัญในการ รับภาพ แต่สมอง คือ ส่วนประมวลผล เพื่อ สั่งการ ต่อไป ทำให้ บางครั้ง เมื่อ เรารู้กลไก ของการ มองเห็น เราก็สามารถ หลอกสมอง หรือ หลอกตา เราได้
ตารางการเรียน วันเสาร์ 13:00-14:00, 15:30 -16:30
วันอาทิตย์ 11:00-12:00
(กรุณาตรวจสอบที่นั่งล่วงหน้า)